วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

มังคุด




การขยายพันธ์
สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด เสียบยอด และทาบกิ่ง แต่วิธีที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ คือ การเพาะเมล็ดโดยตรง เพราะสามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว ต้นมังคุดที่ได้ไม่กลายพันธุ์ แต่มีข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลาประมาณ 7-8 ปีกว่าจะให้ผลผลิต ถ้ามีการบำรุงรักษาเป็นอย่างดีก็อาจเร็วกว่านี้ได้เล็กน้อย ส่วนการขยายพันธุ์ด้วยวิธีเสียบยอดที่นำพันธุ์ดีจากต้นที่เคยให้ผลมาเป็นวิธีที่ช่วยให้มังคุดให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น




การเพาะเมล็ด
เมล็ดมังคุดที่นำมาเพาะควรได้จากผลมังคุดที่แก่จัดและเป็นผลที่ยังสดอยู่เพราะ จะงอกได้ดีกว่า เลือกเมล็ดที่มีขนาดใหญ่ล้างเนื้อและเส้นใยออกให้สะอาดแล้วรีบนำไปเพาะ แต่ถ้าไม่สามารถ เพาะได้ทันที ให้ผึ่งเมล็ดที่ทำความสะอาดแล้วให้แห้ง (ผึ่งลม) เก็บเมล็ดไว้ในถุงพลาสติก แช่ตู้เย็นไว้จะเก็บไว้ ได้นานขึ้น การเพาะเมล็ดสามารถเพาะลงในถุงพลาสติกได้โดยตรง แต่ถ้าทำในปริมาณมาก ๆ ก็ควรเพาะใน แปลงเพาะชำหรือกระบะเพาะชำ สำหรับวัสดุเพาะชำจะใช้ขี้เถ้าแกลบล้วน ๆ ขี้เถ้าแกลบผสมทรายหรือดินร่วน ผสมทรายก็ได้ แปลงเพาะชำต้องมีวัสดุพรางแสง และรดน้ำให้วัสดุเพาะมีความชื้นอยู่เสมอ หลังจากเพาะจะ ใช้เวลาประมาณ 15-20 วัน เมล็ดจึงเริ่มงอกจากนั้นก็คัดเลือกต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์ย้ายจากแปลงเพาะไป ปลูกในถุงบรรจุดินผสมปุ๋ยคอก ใช้ถุงขนาด 4-5 นิ้ว การย้ายควรทำในช่วงที่ต้นกล้ามีอายุไม่เกิน 1 เดือน เพราะ ระบบรากยังไม่แผ่กระจาย ต้นกล้าจะไม่กระทบกระเทือนมาก แต่ต้องระวังลำต้นหักเพราะยังอ่อนอยู่ ต้องมีการ พรางแสงและให้น้ำกับต้นกล้าเช่นเคย เมื่อต้นโตขึ้นก็เปลี่ยนเป็นถุงที่มีขนาดใหญ่ขึ้น การเปลี่ยนถุงต้อง ระมัดระวังอย่าให้กระทบกระเทือนระบบรากเดิม ควรเปลี่ยนถุงบ่อย ๆ สัก 5-6 เดือนต่อครั้งเพราะจะทำให้มังคุดมีการเจริญเติบโต ดีขึ้น และไม่มีปัญหาเรื่องรากขดงอก้นถุง เมื่อมังคุดมีอายุประมาณ 2 ปี มีความสูงราว 30-35 เซนติเมตร มียอด 1-2 ฉัตร ก็พร้อมที่จะปลูกในแปลงได้




การเสียบยอด
ต้นตอที่ใช้ในการเสียบยอด นอกจากจะใช้ต้นตอจากการเพาะเมล็ดมังคุดแล้ว อาจใช้ต้นตอจากพืชชนิดอื่นที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน เช่น ชะมวง มะพูดป่า พะวา รง ซึ่งใช้ได้ช่นกัน ต้นตอที่เหมาะสม ควรมีอายุประมาณ 2 ปี หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยอดพันธุ์ดีต้องเป็นยอดจากต้นที่สมบูรณ์ให้ผลผลิตมาแล้ว และควรเป็นยอดจาก กิ่งที่ชี้ตั้งขึ้น เพื่อให้ได้ต้นมังคุดที่มีทรงต้นตรงสวยงาม รวมทั้งจะต้องเป็นยอดที่มีขนาดใกล้เคียงกับขนาด ของต้นตอ วิธีการเสียบยอดมังคุด (สถาบันวิจัยพืชสวน, 2532) มีดังนี้

1. ตัดต้นตอสูงจากพื้น 20-25 เซนติเมตร และตัดเหนือข้อใบประมาณ 1-2 เซนติเมตร แล้วผ่ากลางต้นลึกเลยข้อไป 1-2 เซนติเมตร
2. ตัดยอดกิ่งพันธุ์ให้เหลือใบไว้ 2 ชั้นใบนับจากตายอดหรือมีจำนวนใบ 4 ใบ บริเวณที่ตัดอยู่ใต้ ข้อใบคู่ล่าง 1-2 เซนติเมตร ตัดคู่ใบบนออกครึ่งใบ เฉือนยอดกิ่งพันธุ์ให้เป็นรูปลิ่ม โดยเฉือนด้านที่มี ใบติดทั้งสองข้าง ให้ข้อใบอยู่บริเวณส่วนกลาง ของรอยแผล
3. นำยอดพันธุ์เสียบลงในแผลต้นตอให้ ข้อของยอดพันธุ์ตรงกับข้อของต้นตอ แล้วพันด้วยพลาสติก จากด้านล่างขึ้นบนให้แน่น เพื่อป้องกันน้ำเข้า
4. ใช้ถุงพลาสติกขนาดใหญ่คลุมโดยผูกปากถุง เพื่อรักษาความชื้นแล้วเก็บไว้ในเรือนเพาะชำ
5. ใช้เวลา 10-15 วัน ถ้ายอดพันธุ์ไม่เหี่ยวแสดงว่า การเสียบยอดได้ผล ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 40-60 วัน ทำการเปิดถุงพลาสติก นำไปดูแลรักษาจน แข็งแรงแล้วนำไปปลูกต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ระบบธนาคาร เทคโนโลยีเครือข่าย ATM

เครือข่าย ATM จะใช้โปรโตคอล ATM (Asynchronous Transfer Mode) เป็นมาตาฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งช้อมูลสูงมาก สื่อที่ใช้ในเครือข่ายมิได้ตั้งแต่สายไฟเบอร์ออปติก สายโคแอกเชียล หรือสายไขว้คู่(Twisted pair) มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 Mbps ไปจนถึง 622 Mbps ATM ถูกพัฒนามาจากเครือข่าย Packet-switching ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า packet ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละ packet ออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเร็วของข้อมูลสูง และสามารถรับประกันคุณภาพของการส่งได้ (มี Quality of Service) ลักษณะการทำงานของ ATMATM เป็นมาตรฐานรูปแบบการส่งข้อมูลความเร็วสูงที่ถูกพัฒนามาสำหรับงานที่ต้องการความเร็วในการส่ง ข้อมูลสูงมาก ๆ ข้อมูลที่ส่งในเครือข่าย ATM จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยเล็ก ๆ เรียกว่า "เซลล์(cell)" มีขนาด 53 ไบต์ ประกอบด้วยส่วนข้อมูล (payload) ขนาด 48 byte และส่วนหัว (Header) ขนาด 5 ไบต์ ส่วนหัวจะเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมการส่งเช่น จุดหมายปลายทางระดับความสำคัญของเซลล์นั้นโดยจะประกอบด้วยVPI (Virtual Path Identifier) และ VCI (Virtual Circuit Identifier) ทำหน้าที่กำหนดวงจรเสมือน (virtual circuit) ในการเดินทางให้กับเซลล์นั้น HEC (Header Error Check)ทำหน้าที่ตรวจสอบเซลล์ ที่ไม่สอดคล้องตามที่ระบุในส่วนหัว สวิตซ์ ATM จะทำหน้าที่ ในการมัลติเพล็กซ์และจัดการส่งข้อมูลนั้นตามที่กำหนดไว้ในส่วนหัวไปสู่ปลายทาง เมื่อข้อมูลของผู้ใช้เข้ามา จะถูกตัวแบ่งย่อยเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 48 byte และ เติมส่วนหัวเข้าไปอีก 5 byte แล้วจึงส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่าย ATM ซึ่งระบุไว้โดยส่วนหัว เมื่อถึงปลายทางแล้วก็จะเอาส่วนหัวออก แล้วประกอบกันเป็นข้อมูลชิ้นใหญ่ เหมือนเดิม ลักษณะของ ATM นี้ จะคล้ายกับเครือข่าย packet-switching อื่น ๆ ที่มีอยู่ เช่น x.25 หรือ frame relay แต่ต่างกันที่ ATM จะมีขนาด pack เล็กและคงที่รูปแบบการส่งข้อมูล ATM เป็นแบบ connectionoriented กล่าวคือจะมีการสร้าง connection จากต้นทางถึงปลายทาง กำหนดเส้นทางที่แน่นอนก่อน แล้วจึงเริ่มส่งข้อมูล เมื่อส่งข้อมูลเสร็จก็ปิด connection เปรียบเทียบได้กับการโทรศัพท์ ก็จะต้องมีการเริ่มยกหู กดเบอร์ และเมื่อมีคนรับก็ต้องสวัสดีแนะนำตัวกันก่อน แล้วจึงเริ่มการสนทนา เมื่อสนทนาเสร็จแล้วก็มีการกล่าวคำลาและวางหูเป็นการปิด connection ต่างจาก IP Network ในแบบก่อน ซึ่งจะเป็นแค่การระบุจุดหมายปลายทางแล้วก็ส่งข้อมูลไปเท่านั้น การเลือกเส้นทางในแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ระหว่างเส้นทางเดินว่าจะเลือกเส้นทางใด เหมือนกับการส่งจดหมายนั่นเอง เราเพียงระบุจ่าหน้าแล้วก็หย่อนลงตู้ไปเท่านั้น ผู้ส่งไม่สามารถทราบได้ว่าจะไปถึงผู้รับเส้นทางไหน และจะไปถึงเมื่อไร นอกจากนี้ ATM ยังมีลักษณะหนึ่งที่มีความสำคัญมาก คือ ATM จะมี QoS (Quality of Service) ซึ่งสามารถรับประกันคุณภาพของการส่งข้อมูลในแต่ละ connection ได้ นั่นคือเมื่อมีการเริ่ม connection จะมีการตกลงระดับ QoS ที่ต้องการใช้ก่อน เพื่อให้เราสามารถส่งข้อมูลโดยได้รับคุณภาพของการส่งตามที่กำหนดไว้นั่นเอง เครือข่าย ATM เป็นระบบแบบสวิตซ์ กล่าวคือในเครือข่าย ATM นั้น แต่ละ connection สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ทันที ไม่ต้องรอให้อีกคนหนึ่งส่งเสร็จก่อนถ้าพิจารณาหาทางแยก อันหนึ่งที่มีรถวิ่งมาจากหลาย ๆ ทาง เราสามารถเปรียบเทียบเครือข่ายแบบสวิตซ์นี้ได้เสมือนเป็นทางต่างระดับ ซึ่งรถจากแต่ละทางสามารถวิ่งไปยังปลายทางของตนเองได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอกัน ซึ่งต่างจะระบบ share-bus ที่เปรียบเสมือนกับทางแยกธรรมดาซึ่งมีไฟแดงไฟเขียว รถที่แล่นมาจากแต่ละทางจะต้องรอ ให้ถึงสัญญาณไฟเขียวก่อน จึงจะวิ่งต่อไปได้ และไม่อาจวิ่งหลายทางพร้อม ๆ กันได้โครงสร้างโพโตคอลของ

ATM จะแบ่งการทำงานที่สลับซับซ้อนออกเป็น 4 ชั้นได้แก่
1. Physical Layer (PHY) เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับตัวนำสัญญาณที่ใช้ในการส่งสัญญาณดิจิตอล ในการนำ ATM มาใช้ในเครือข่ายโทรคมนาคมนั้นจะนำมาใช้ร่วมกับ SONET ZSynchronous Optical Network) /SDH (Synchronous Digital Hierarchy) โดยมีเส้นใยแก้วนำแสดงเป็นตัวนำสัญญาณ
2. Asynchronous Transfer Mode Layer (ATM) หน้าที่สร้างส่วน header ของเซลล์ และประมวลผลส่วน header ของเซลล์ที่รับเข้ามา โดยอ่านค่า VCI/VPI ของเซลล์และหาเส้นทางที่จะส่งเซลล์ ออกไปแล้วจึงกำหนด VCI/VPI ใหม่ให้กับส่วน header ของเซลล์นั้น
3. ATM Adaptation Layer (AAL) ทำหน้าที่ปรับบริการที่ได้รับจากชั้น ATM ให้สอดคล้อง กับความต้องการของโพโตคอลและแปพลิเคชั่น ในชั้น higher layer โดยแบ่งเป็น 5 ชนิดด้วยกันเพื่อใช้กับ แอปพลิเคชันที่ต่างกันดังต่อไปนี้ - AAL1 เป็นวิธีการกำหนดให้มีการส่งและรับข้อมูลด้วยอัตราคงที่ (constant bit rate) โดยการจำลองวงจรการเชื่อมโยงระหว่างตัวรับตัวส่งข้อมูลที่ส่งมีลักษณะเป็น stream เพื่อใช้กับแอปพลิเคชันที่มีการส่งสัญญาณแบบจุดไปจุดอย่างต่อเนื่อง - AAL2 เป็นวิธีการรับส่งข้อมูลแบบปรับค่าความเร็วของการรับส่งได้ตามทที่ต้องการ (variable bit rate) โดยเน้นการใช้อัตราความเร็วตามที่ต้องการ จึงนำมาใช้กับการรับส่งสัญญาณเสียงและภาพได้
- AAL3/4 เป็นวิธีการรับส่งข้อมูลแบบปรับค่าความเร็วของการรับส่งได้ตามที่ต้องการ (variable bit rate) เช่นเดียวกับ AAL2 แต่ต่างกันที่สามารถรับส่งข้อมูลแบบ asynchronous ได้ กล่าวคือ เวลาในการส่งและรับข้อมูลไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กัน
- AAL5 มีวิธีการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับ AAL3/4 ข้อแตกต่างกันคือสามารถใช้กับการสื่อสาร ข้อมูลซึ่งมีการเชื่อมต่อแบบ connectionless ได้ และมีส่วน header ของ payload สั้นกว่า AAL3/4 โพรโตคอลในชั้น AAL นี้จะควบคุมการติดต่อสื่อสารจากต้นทางถึงปลายทาง และจะถูกประมวลผลโดยผู้ส่งและ ผู้รับข้อความ (Message) เท่านั้น ชั้น AAL แบ่งออกเป็นชั้นย่อย 2 ชั้น คือชั้น Convergence Sublayer (CS) ช่วยในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Interface) ที่ไม่ใช่ ATM เข้ากับ ATM และชั้น Segmentation and Reassembly Sublayer (SAR) ทำหน้าที่ตัดข้อความที่โพรโตคอลหรือแอปพลิเคชันต้องการส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อนำไปสร้างเซลล์หรือนำส่วนข้อมูล (information) จาก payload ของเซลล์มาต่อกันเป็นข้อความ



_____________________________________________________

อ้างอิง http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/atm/concept.html

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในระบบสำนักงานอัตโนมัติ


1. คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญของการทำงานในสำนักงานอัตโนมัติอย่างหนึ่ง ซึ่งคอมพิวเตอร์นี้ จะอำนวยความสะดวกในการทำงานในสำนักงานต่างๆ เช่น งานด้านเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูล ข่าวสารต่างๆ การติดต่อสื่อสารและอื่นๆ ผ่าน Software



2. ซอฟต์แวร์
Software เป็นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมี Software ใหม่ ๆ ที่จะคอยช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของระบบสำนักงานอัตโนมัติ เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows Linux NT เป็นต้นซึ่งจะมี Software ที่สามารถทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการ ของแต่ละชนิดได้เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows จะมีชุด Microsoft Office ที่จะคอยอำนวยความสะดวกในการทำงานด้านต่าง ๆ ของสำนักงาน เป็นต้น

3. แลนการด์
LanCard เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี LanCard เพื่อให้สามารถติดต่อกันได้โดยจะใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น สายเคเบิล Hub/Switching เป็นต้น



4. สวิทย์ชิ่ง
Switching/Hub เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อต่อกันระหว่าง สายเคเบิลที่พ่วงต่อกับLanCard ของเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพื่อรวมกันเป็นชุดเพื่อให้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน ขนาดของ Switching/Hub มีหลากหลายขนาดด้วยกันแล้วแต่ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในระบบมากน้อยเพียงได และต้องการใช้ความเร็วในการประมวลผลของระบบเท่าไร ก็สามารถกำหนดตามความต้องการใด้



5. โมเด็ม
Modem เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญานโทรศัพท์ ให้สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ Modem นี้จะนำมาใช้งานกับเครื่องแม่ข่าย หรือ Server ก็ต่อเมื่อระบบต้องการใช้ Internet ในการติดต่อสื่อสาร และหาข้อมูลก็จะนำมาใช้งานร่วมกับ SwitchingLanCard สายเคเบิล ซึ่งจะทำให้เครื่องลูกข่ายสามารถใช้งาน Internet ได้เช่นเดียวกับเครื่อง แม่ข่าย หรือ Server



6. สายเคเบิล
สายเคเบิลเป็นสื่อส่งข้อมูลที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ลักษณะทั่วไปเป็นสายทองแดง อาจมีหรือไม่มีฉนวนหุ้ม ขึ้นอยู่กับชนิดของสายเคเบิล สายเคเบิลที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 ประเภท คือ
-สายโคแอกเชียล (Coaxial)
-สายคู่ตีเกลียวไม่มีหุ้มฉนวน (Unshielded twisted pair - UTP)
-สายคู่ตีเกลียวหุ้มฉนวน (Shielded twisted pair - STP)


7. เครื่องพิมพ์
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

หลักเกณฑ์การพิจารณาระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้

เมื่อพิจารณาถึงผลประโยชน์ ความหรูหรา และทันสมัยของสำนักงานอัตโนมัติแล้ว เชื่อว่าทุกคนคงอยากเป็นเจ้าของหรือเข้าไปทำงานในสำนักงานอัตโนมัติ แต่อุปสรรคของการได้มาซึ่งสำนักง่านอัตโนมัตินั้นก็คือการลงทุนอย่างมากมายจนต้องมาวิเคราะห์กันใหม่ว่า คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ มีการต่อต้านจากพนักง่นและระบบความปลอดถัยในการรักษาข้อมูล วิธีการที่จะทำให้ตัดสินใจได้ถูกต้องคงต้องศึกษาความเป็นไปได้ แล้วความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงระบบสำนักงานจากแบบธรรมดาให้เป็นอัตโนมัติ เพื่อให้บรรลุผลอย่างเต็มประสิทธิภาพ
การตัดสินใจนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้
เนี่องจากระบบงานสำนักงานอัตโนมัติเป็นงานที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นผู้จัดระบบดังนั้นก่อนจะสร้างระบบสำนักงานอัตโนมัติคงต้องเป็นหน้านที่ของบุคคลดังต่อไปนี้
1. ผู้ขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บริษัทที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สำนักงานอัตโนมัติ มักจะให้บริการด้านการให้บริการคำปร฿กษาหรือเป็นผู้จัดตั้งระบบโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อศึกษาหาความเป็นไปได้ของแต่ละสำนักงาน
2. ทีมงานเฉพาะกิจของบริษัท บริษัทที่ต้องการมีสำนักงนอัตโนมัติ อาจจัดตั้งทีมงานขึ้นมาเองเพื่อทำกาตรวิจัยด้านนี้โดยเฉพาะและควรมีพนักงานที่มีความเชียวชาญด้านการจัดการข้อมูล
3. ที่ปรึกษา บางบริษัทไม่มีพนักงานที่มีความชำนาญพอที่จะจัดตั้งทีมงานขึ้นเองได้ก็จะต้องอาศัยที่ปรึกษาภายนอกบริษัท ซึ่งควรเป็นบุคคลหรือกลุ่มที่เชี่ยวชาญด้านสำนักงานอัตโนมีติเป็นพิเศษ
4. ทีมงานเฉพาะกิจร่วมกับที่ปรึกษา เป็นการจับมือกันระห่วางบุคคลภายนอก และภายนอกบริษัทเพราะทีมงานในบริษัทย่อมรู้ซึ้งและให้ข้อมูลของบริษัทในขณะที่ที่ปรึกษา มีความรู้เป็นอย่างดีในการจุดระบบจะสามารพิจารณาทุกแง่ทุกมุมของปัญหาได้โดยปราศจากอคติ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดเพราะรู้ว่าบริษัทพร้อมหรือยัง